เทคนิคจัดการ Imposter Syndrome ความรู้สึกด้อยค่าตัวเอง

18 พฤศจิกายน 2023

ก่อนหน้านี้เราได้ทำความรู้จักกับ Imposter Syndrome กันไปแล้ว ว่าคืออะไร และ มีสาเหตุจากไหน ทำไมอาการ Imposter Syndrome ถึงฉุดรั้งเราไว้ และ อาจเป็นสาเหตุของภาวะหมดไฟ Burnout ที่เกิดขึ้นได้กับทุก ๆ คน ในบทความนี้ เราจะพูดถึง เทคนิคจัดการ Imposter syndrome หรือ อาการที่ทำให้เราด้อยค่าตัวเอง ไม่เห็นความสำเร็จในตัวเอง จนต้องผลักดันตัวเองมากเกินขีดจำกัดไป เราจะมีเทคนิคจัดการ Imposter syndrome ได้อย่างไร

เทคนิคจัดการ Imposter Syndrome

อาการของ Imposter Syndrome ที่อาจพบเจอได้

คิดว่าตัวเองมีคุณสมบัติไม่เพียงพอ

เช่น ได้เลื่อนตำแหน่ง ก็ไม่รู้สึกยินดี หรือ คิดจะเปลี่ยนงาน ก็จะไม่มั่นใจตัวเองไม่กล้าสมัครในตำแหน่งนั้น เพราะติดอยู่กับความคิดที่ว่าตัวเองไม่ดีพอ กลัวจะทำได้เท่ากับที่คนอื่นคาดหวัง

รู้สึกตัวเองเป็นคนหลอกลวง

ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง ได้รับคำชมต่าง ๆ ได้รับรางวัล คนเหล่านี้จะไม่สามารถรู้สึกดีใจได้ เพราะลึก ๆ แล้วคิดว่าเค้ากำลังหลอกคนอื่นอยู่นั่นเอง

ชอบด้อยค่าตัวเอง

หลายต่อหลายครั้งเมื่อมีคนตอบแทนอะไรให้กับสิ่งที่ตัวเองได้ทำให้ ไม่ว่าจะเป็นรางวัล หรือของขวัญ มักจะรู้สึกไม่ดี หรือไม่คิดว่าตัวเองสมควรได้รับสิ่งเหล่านี้

ผลกระทบที่เกิดจาก Imposter Syndrome

อาการวิตกกังวล

ไม่สามารถปรับตัวให้รับมือกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ อาจทำให้เกิดความอ่อนเพลีย กระวนกระวาย วิตกกังวล ไม่มีสมาธิ รู้สึกไม่พอใจ ไม่ได้ดังใจ อะไรก็ดูขวางหูขวางตาไปหมด กลายเป็นคนอารมณ์ร้าย ไม่ใจเย็นเหมือนก่อน บางคนกังวลง่ายขึ้น เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เก็บมาครุ่นคิดกังวลไปหมด

ขาดความมั่นใจในตนเอง

ไม่มั่นใจในตัวเอง ในงานที่ตัวเองทำ หวาดระแวงไม่ยินดีกับความสำเร็จตัวเอง ไม่ว่าจะได้รับชม ได้รับโปรโมทก็จะมีคำถามตลอดเวลา เพราะคิดว่าตัวเองไม่เก่งจริง แล้วคิดว่ากำลังหลอกคนอื่นอยู่ กลัวจะโดนจับได้

เกิดภาวะหมดไฟ Burnout

คนที่มีอาการ Impostor Syndrome มักมีความมั่นใจในตัวเองและการเห็นคุณค่าในตัวเองต่ำ ซึ่งอาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานแย่ลง และนำไปสู่ภาวะหมดไฟ Burnout ได้ในที่สุด

ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเปลี่ยนไป

เพราะความกดดัน ความเครียดทำให้ไม่ร่าเริง แจ่มใส เหมือนก่อน บางคนอาจอ่อนไหวง่าย ซึ่งคนรอบข้างก็มักจะไม่เข้าใจว่าทำไมเขาถึงเปลี่ยนไป บางคนอาจหงุดหงิดบ่อยกว่าเดิม

เทคนิคจัดการ Imposter Syndrome

เทคนิคจัดการ Imposter Syndrome

รับรู้และตระหนักว่าคุณมีอาการ Imposter Syndrome

การมี Awareness เป็นขั้นตอนแรกในการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นให้ลองไล่เลียงตามความคิดของตัวเองให้ได้ว่าความคิดเหล่านี้คืออะไร และเกิดขึ้นเมื่อไหร่

ยอมรับว่า “ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ”

ต้องยอมรับทั้งจุดแข็ง และจุดอ่อนของตัวเอง ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ และความผิดพลาดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

เขียน Gratitude Journal

หยุดจดจ่อกับสิ่งที่กำลังจะทำต่อไป และใช้เวลาสัก 20 นาที เขียน Gratitude Journal บันทึก Reflect เรื่องดี ๆ ในแต่ละวัน และขอบคุณเรื่องดี ๆ ที่เกิดขึ้น จะช่วยให้เรารู้สึกรักตัวเองและมองเห็นคุณค่าในตัวเองมากขึ้น

ทำเช็กลิสต์ ประเมินตัวเอง

ลองเขียนตารางเป็น 2 คอลัมน์ ด้านหนึ่งคือเรื่องที่เราทำไม่ได้ อีกด้านหนึ่งคือสิ่งที่เราทำได้ เป็นตารางที่จะช่วยให้เรามองเห็นตัวเองได้ชัดเจน และยืนยันกับตัวเองเพื่อสู้กับอาการ Imposter Syndrome ในตัวเองได้

ใจดีกับตัวเอง

จำไว้ว่าคุณมีสิทธิ์ทำผิดพลาดเล็กน้อยได้ในบางครั้ง ต้องรู้จักให้อภัยตัวเอง และอย่าลืมชื่นชมความสำเร็จของตัวเองบ่อย ๆ เมื่อตัวเองทำผลงานได้ดี หรือยินดีกับคำชมเชยที่ได้รับจากหัวหน้างาน หรือคนรอบตัว

หยุดเปรียบเทียบตัวเอง

เพราะทุกคนมีความสามารถและความถนัดที่แตกต่างกัน การเปรียบเทียบจะยิ่งทำให้ความมั่นใจในตัวเองลดลง

รับฟีดแบ็กจากคนที่วางใจได้ หรือ ไลฟ์โค้ช

ซึ่งจะช่วยให้รู้สึกสบายใจขึ้น และอาจได้คำแนะนำในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้

ปรับทัศนคติเกี่ยวกับมุมมอง “ความรู้สึกล้มเหลว” ใหม่

กลับมาทำความเข้าใจว่า สำหรับเรา ความล้มเหลว คืออะไร ลองมองความล้มเหลวไม่ใช่สิ่งที่เลวร้าย แต่ให้มองว่า เพราะอะไรเราจึงล้มเหลว การมองความจริงจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ หาที่มา ต้นเหตุให้เจอ แล้วกลับไปทำความเข้าใจ เรียนรู้สิ่งนั้นให้เข้าใจอย่างถ่องแท้

เปิดใจรับฟังคำติชม

เปิดโอกาสให้ตัวเองด้วยการหาคนที่ไว้วางใจติชม ในสิ่งที่ตนเองได้ทำ เพื่อให้รู้ถึง ข้อดี หรือจุดที่ผิดพลาดในชิ้นงานนั้น ๆ เพื่อนำมาปรับแก้ไขจุดอ่อน เพิ่มจุดแข็ง เพื่อให้ความคิดด้อยค่าว่าตัวเองไม่เก่งนั้นลดลงไปได้

Google+
Line